ติดตาม ปัญหาความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน/นาโต้ อย่างใกล้ชิด
2022-02-21 09:45:17
more 
593
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินผันผวนหนักและปิดรับความเสี่ยงจากความกังวลว่ารัสเซียจะบุกโจมตียูเครน

  • ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน/นาโต้ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิด โดยทิศทางของความขัดแย้งดังกล่าวอาจส่งผลต่อแนวโน้มตลาดการเงินในระยะสั้นได้

  • ผู้เล่นในตลาดจะยังคงอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวและพร้อมปิดรับความเสี่ยงอย่างรวดเร็ว หากรัสเซียเปิดฉากโจมตียูเครน ซึ่งจะหนุนให้สินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น พร้อมกับราคาทองคำที่อาจปรับตัวขึ้นต่อได้ ส่วนเงินบาทอาจไม่ได้อ่อนค่าไปมาก แม้ตลาดจะปิดรับความเสี่ยง เนื่องจากเงินบาทยังคงได้แรงหนุนจากโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ ทั้งนี้ต้องติดตามทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติว่าจะเริ่มขายทำกำไรหุ้นไทยมากขึ้นหรือไม่ หลังจากในช่วงที่ผ่านมาฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติได้ไหลเข้าสินทรัพย์ไทยและหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น อนึ่ง ในระยะสั้น เรามองว่า แนวรับสำคัญยังคงเป็นโซน 32.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าผู้นำเข้าก็ต่างรอซื้อเงินดอลลาร์และนักลงทุนต่างชาติบางส่วนก็อยากขายทำกำไร ณ โซนดังกล่าว

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    32.00-32.40
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป PCE สหรัฐฯ ในเดือนมกราคมมีแนวโน้มเร่งตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 6.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงานก็เร่งขึ้นแตะระดับ 5.1% เช่นกัน ซึ่งแนวโน้มเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นและอาจอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด จะส่งผลให้เฟดสามารถใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเรามองว่าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ราว 0.25% ในการประชุม FOMC เดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ (Markit Manufacturing & Services PMIs) เดือนกุมภาพันธ์ ที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56 จุด และ 53 จุด (ดัชนีเกินระดับ 50 จุด หมายถึงภาวะขยายตัว)

  • ฝั่งยุโรป – ความเสี่ยงสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด โดยตลาดการเงินพร้อมปิดรับความเสี่ยงอย่างรวดเร็ว หากทั้งสองฝ่ายเปิดฉากโจมตี ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจหนุนให้ผู้เล่นในตลาดเลือกที่จะเทขายสินทรัพย์เสี่ยงและถือสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ เงินดอลลาร์ เงินเยน (JPY) รวมถึงทองคำและพันธบัตรรัฐบาลได้ สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ตลาดประเมินว่า สถานการณ์การระบาดของโอมิครอนในยุโรปที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนักจะทำให้ทั้งภาคการผลิตและการบริการกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นได้ โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการในเดือนกุมภาพันธ์จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 58.7 จุด และ 52 จุด ตามลำดับ นอกจากนี้ ตลาดยังมองว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนี (Ifo Business Climate) เดือนกุมภาพันธ์ยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นแตะระดับ 96.5 จุด สะท้อนมุมมองของภาคธุรกิจต่อทิศทางสภาวะธุรกิจที่เป็นบวกมากขึ้น หลังการระบาดโอมิครอนเริ่มคลี่คลายลง ทว่าปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามยังคงเป็นประเด็นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่อาจบานปลายสู่สงครามได้

  • ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่าผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนในญี่ปุ่นอาจทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคการบริการญี่ปุ่นยังคงหดตัวอยู่ โดย ดัชนี PMI ภาคการบริการในเดือนกุมภาพันธ์จะยังอยู่ที่ระดับ 48 จุด ทั้งนี้ แนวโน้มสถานการณ์การระบาดที่อาจผ่านจุดเลวร้ายสุดไปแล้ว กอปรกับการที่รัฐบาลไม่ได้ประกาศใช้ State of Emergency จะช่วยหนุนให้ภาคการบริการของญี่ปุ่นกลับมาขยายตัวได้ อนึ่ง แนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจนิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ รวมถึงแรงกดดันจากเงินเฟ้อ อาจหนุนให้ธนาคารกลางทั้งสองประเทศสามารถทยอยขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ โดยตลาดมองว่า ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) และธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) อาจปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 1.00% และ 1.50% ตามลำดับ ส่วนในฝั่งประเทศจีน แนวโน้มการบริโภคที่ยังคงซบเซาอยู่ สะท้อนผ่านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ชะลอลง อาจหนุนให้ธนาคารกลางจีน (PBOC) คงอัตราดอกเบี้ยลูกหนี้ชั้นดี (Loan Prime Rate) ประเภท 1 ปี และ 5 ปี ไว้ที่ระดับ 3.70% และ 4.60% ตามลำดับ และอาจปรับลดลงได้ในอนาคตเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

  • ฝั่งไทย – ตลาดมองว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมาอาจโตได้ +0.7%y/y ตามการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ตลอดทั้งปี 2021 เศรษฐกิจอาจโตได้ราว +1.0%y/y ส่วนยอดการส่งออกในเดือนมกราคมมีแนวโน้มขยายตัวราว +18%y/y ตามภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกหลังการระบาดโอมิครอนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก อย่างไรก็ดี ยอดการนำเข้าอาจพุ่งขึ้นกว่า +21%y/y จากราคาสินค้าพลังงานที่เร่งตัวสูงขึ้น ทำให้ดุลการค้าในเดือนมกราคมอาจขาดดุลเล็กน้อย อนึ่ง ควรติดตามสถานการณ์การระบาดโอมิครอนในประเทศหลังยอดผู้ติดเชื้อยังคงพุ่งสูงขึ้นและอาจสร้างแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขได้ หากอัตราครองเตียงเริ่มพุ่งขึ้น

Weekahead carlendarWeekahead carlendar

Statement:
The content of this article does not represent the views of fxgecko website. The content is for reference only and does not constitute investment suggestions. Investment is risky, so you should be careful in your choice! If it involves content, copyright and other issues, please contact us and we will make adjustments at the first time!

Related News

您正在访问的是FxGecko网站。 FxGecko互联网及其移动端产品是中国香港特别行政区成立的Hitorank Co.,LIMITED旗下运营和管理的一款面向全球发行的企业资讯査询工具。

您的IP为 中国大陆地区,抱歉的通知您,不能为您提供查询服务,还请谅解。请遵守当地地法律。