ลุ้นรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนอาจหนุนตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น
2022-01-17 09:45:15
more 
752
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินยังคงผันผวนจากความกังวลเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้เร็ว
  • ติดตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยผลประกอบการที่ขยายตัวต่อเนื่องและดีกว่าคาดอาจช่วยหนุนให้ตลาดกลับมาเปิดรับความเสี่ยงได้

  • ท่ามกลางความผันผวนในตลาด ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยอาจช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาได้บ้าง แต่เราคงมองว่า เงินดอลลาร์จะไม่ปรับตัวขึ้นไปมาก เพราะตลาดเริ่มคลายกังวลแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและอาจทยอยเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นได้ ซึ่งจะลดความน่าสนใจของเงินดอลลาร์ ส่วนเงินบาทอาจแกว่งตัว Sideways โดยต้องจับตาฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางเงินบาทในช่วงที่เศรษฐกิจเผชิญปัญหาการระบาดของโอมิครอน อนึ่ง ตลาดหุ้นไทยซึ่งมีสัดส่วนหุ้นกลุ่ม Cyclical เป็นส่วนใหญ่ อาจยังได้แรงหนุนอยู่ในช่วงที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติจะไม่ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยรุนแรง อย่างไรก็ดี แนวรับสำคัญของเงินบาทจะอยู่ในโซน 33.10 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งผู้นำเข้าต่างรอทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.00-33.50
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดจะให้ความสนใจรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะกลุ่มการเงิน อาทิ Goldman Sachs, Morgan Stanley และ Bank of America โดยผลประกอบการที่ดีกว่าคาดจะยิ่งช่วยหนุนให้ หุ้นกลุ่มการเงินสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น นอกเหนือจากแรงหนุนจากการเปลี่ยนกลุ่มหุ้นลงทุนของบรรดาผู้เล่นในตลาดที่หันมาลงทุน หุ้นกลุ่ม Cyclical และหุ้น Value มากกว่า หุ้น Tech. และหุ้น Growth หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องและออกมาดีกว่าคาดจะสามารถช่วยให้ผู้เล่นในตลาดทยอยกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นได้

  • ฝั่งยุโรป – การระบาดของโอมิครอนในเยอรมันที่เริ่มเข้าใกล้จุดเลวร้ายสุด อาจสร้างความหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หากสถานการณ์การระบาดเริ่มดีขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (ZEW Economic Sentiment) ในเดือนมกราคม ที่อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 31 จุด จากระดับ 29.9 ในเดือนก่อนหน้า ส่วนในฝั่งอังกฤษ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีแนวโน้มใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคม หากเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ การจ้างงาน ทยอยฟื้นตัวดีขึ้น หลังสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนในอังกฤษน่าจะผ่านจุดเลวร้ายสุดไปแล้ว ทั้งนี้ ตลาดประเมินว่า อัตราการว่างงาน (Unemployment) ในเดือนพฤศจิกายน จะลดลงสู่ระดับ 4.1% นอกจากนี้ หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ยังมีแนวโน้มเร่งตัวสูงขึ้นก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของ BOE ซึ่งตลาดคาดว่า CPI เดือนธันวาคมจะปรับตัวขึ้นแตะ 5.2%

  • ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลงชัดเจนในไตรมาสที่ 4 จากปัญหาหนี้ในภาคอสังหาฯ ปัญหาขาดแคลนพลังงาน รวมถึงปัญหาการระบาดของ COVID-19 ในช่วงปลายปี ทำให้เศรษฐกิจอาจขยายตัวเพียง +3.6%y/y ในไตรมาสที่ 4 นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีนจะยิ่งสะท้อนภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยในเดือนธันวาคม ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) จะโต +3.7%y/y ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกันกับ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) และยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Investment) ที่จะขยายตัวในอัตราชะลอลงเหลือ +3.8%y/y และ +4.8%y/y ทั้งนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะเพิ่มโอกาสการผ่อนคลายนโยบายการเงินหรือการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากทางการจีน ซึ่งตลาดมองว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะคงอัตราดอกเบี้ยลูกหนี้ชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี ไว้ที่ระดับ 3.80% (หลังจากปรับลดลง 5bps ในเดือนธันวาคม) ส่วน LPR ประเภท 5 ปี ยังคงไว้ที่ 4.65% ตามเดิม ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น เรามองว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเพื่อหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.10% และคงเป้าบอนด์ยีลด์ 10 ปี ไว้ที่ระดับ 0.00% ซึ่งต้องจับตาท่าทีของ BOJ ต่อการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ล่าสุด เพราะหาก BOJ กังวลต่อประเด็นดังกล่าว อาจสะท้อนว่า BOJ พร้อมเพิ่มการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกดดันให้ยีลด์ย่อตัวลง ซึ่งภาพดังกล่าวอาจส่งผลให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อ่อนค่าลงได้ นอกเหนือจาก BOJ ที่จะเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อนั้น ตลาดประเมินว่า ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) รวมถึง ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ต่างก็มีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.75% และ 3.50% ตามลำดับไว้ก่อน จนกว่าเศรษฐกิจจะส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ทั้ง BNM และ BI อาจมองว่าเงินเฟ้อยังไม่ใช่ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขด้วยการทยอยขึ้นดอกเบี้ยแบบธนาคารกลางอื่นๆ

  • ฝั่งไทย – เรามองว่าการส่งออกของไทยในเดือนธันวาคมอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดโอมิครอนทั่วโลกบ้าง แต่ทว่า ยอดการส่งออกจะสามารถขยายตัวกว่า +17%y/y ส่วนยอดการนำเข้าอาจโตได้ราว +20%y/y ทำให้ดุลการค้า (Trade Balance) อาจเกินดุลเล็กน้อย +550 ล้านดอลลาร์

Weekahead carlendarWeekahead carlendar

Statement:
The content of this article does not represent the views of fxgecko website. The content is for reference only and does not constitute investment suggestions. Investment is risky, so you should be careful in your choice! If it involves content, copyright and other issues, please contact us and we will make adjustments at the first time!

Related News

您正在访问的是FxGecko网站。 FxGecko互联网及其移动端产品是中国香港特别行政区成立的Hitorank Co.,LIMITED旗下运营和管理的一款面向全球发行的企业资讯査询工具。

您的IP为 中国大陆地区,抱歉的通知您,不能为您提供查询服务,还请谅解。请遵守当地地法律。