ทฤษฎีที่ว่าราคาน้ำมันดิบที่จะทะยานขึ้นแตะ $100 ต่อบาร์เรลภายในปี 2022 เป็นเรื่องจริง
2022-01-13 16:40:16
more 
336

นักลงทุนในตลาดหุ้นวันนี้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เมื่ออัตราเงินเฟ้อทะยานขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982 ในขณะที่ตลาดหุ้น (อย่างเช่นดัชนีเอสแอนด์พี 500) ให้ผลตอบแทนได้เพียงน้อยนิด หรือบางครั้งก็แทบจะติดลบSPX Expected 10-Year ReturnsSPX Expected 10-Year Returns

ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี การถือเงินสดไว้จะทำให้อำนาจในการซื้อหายไป ในความเห็นของผม ตอนนี้มีเพียงหุ้นในกลุ่มพลังงานเท่านั้นที่สามารถปรับตัวขึ้น และสามารถป้องกันเงินเฟ้อไปในเวลาเดียวกันได้ โอกาสนั้นจะยิ่งเห็นได้เด่นชัดมากขึ้นหากคุณเชื่อว่าปีนี้ราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติจะปรับตัวขึ้นจริง

โอกาสที่หาได้ยากยิ่งในตลาดหุ้นวันนี้

ไม่ว่าบริษัทที่ทำเกี่ยวกับพลังงานจะอยู่ในภาคส่วนไหนก็ตาม การสำรวจ การผลิต การกลั่น หรือตัวกลางระหว่างบริษัทและผู้บริโภค คุณจะพบว่าหุ้นของบริษัทพลังงานที่อยู่ในโซนทวีปอเมริกาเหนือสามารถมอบเงินปันผลจากกระแสเงินสดที่มีได้เกินตัวเลขสองหลักอยู่ตลอด กราฟด้านล่างนี้แสดงให้เห็นมูลค่าของบริษัทพลังงานที่อยู่ในภาคส่วนของการผลิตและการสำรวจ เมื่อเทียบกับดัชนีเอสแอนด์พี 500E&P Valuations vs Broader MarketsE&P Valuations vs Broader Markets

ผมขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับหนึ่งบริษัทที่พึ่งทำขาขึ้นไปเมื่อเร็วๆ นี้อย่าง Enterprise Products Partners (NYSE:EPD) ในบทความที่เป็นงานวิจัยของผมได้ตั้งข้อสังเกตว่า EPD มักจะมอบผลตอบแทนแก่นักลงทุนเพิ่มขึ้น 15% และมีอัตราการปันผลแก่นักลงทุนรายปีอยู่ที่ 20-30% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว EPD พึ่งประกาศเพิ่มการปันผลรายไตรมาสขึ้นเป็น 3.3% คิดเป็นการจ่ายเงินให้กับนักลงทุน $1.86 ต่อปี และพวกเขามีสถิติการเพิ่มขึ้นปันผลขึ้นตลอด 24 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้ EPD ยังใช้จังหวะที่หุ้นปรับตัวลดลงในการกลับเข้าไปซื้อหุ้นของตัวเองคืนอีกในวงเงิน $125 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลเพียงเท่านี้ก็จะพอเห็นได้ว่า EPD ถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการซื้อและถือยาว และจะสามารถทำให้คุณนอนหลับได้อย่างสนิทใจในทุกค่ำคืน เพราะต่อให้ราคาพลังงานโลกจะวิ่งไปทางไหน กระแสเงินสดที่คุณมีก็มีแต่จะเติบโตเพิ่มขึ้น และได้รับการปันผลอย่างต่อเนื่อง แล้วลองนึกภาพดูว่าหากราคาน้ำมันสามารถขึ้นถึง $100 ต่อบาร์เรลขึ้นมา คุณจะได้กำไรเพิ่มขึ้นขนาดไหน เพราะอย่าลืมว่าตัวอย่างของผมนั้นเป็นเพียงบริษัทพลังงานขนาดกลางๆ เท่านั้น

ในบทความนี้ผมจะพาไปดูว่าหุ้นของบริษัทผู้ผลิตน้ำมันที่อยู่ในภาพส่วนของการผลิตและการสำรวจจะสามารถมอบผลตอบแทนที่น่าดึงดูดให้กับคุณได้อย่างไร ถ้าหากคุณกำลังมองหาหุ้นที่จะใช้คานเงินเฟ้อ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่าราคาน้ำมันจะขึ้นหรือจะลง บทความนี้อาจจะเป็นคำตอบของคุณ

ทำไมผมถึงเชื่อว่าราคาน้ำมันดิบจะสามารถขึ้นไปแตะ $100 ต่อบาร์เรลได้?

เริ่มต้นที่ด้านน้ำมันคงคลัง ปริมาณน้ำมันส่วนเกินทั่วโลกที่เกิดขึ้นจากการระบาดของ COVID-19 ได้ถูกนำออกมาใช้อย่างเป็นทางการแล้ว วันนี้หุ้นน้ำมันดิบโลกอยู่ใกล้จุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์ ทางสำนักงานข้อมูลพลังงานสหรัฐ (EIA) คาดการณ์ว่าน้ำมันคงคลังทั่วโลกจะยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ไปตลอดปี 2022OECD Crude And Other Liquid InventoriesOECD Crude And Other Liquid Inventories

อย่างไรก็ตาม ถึงกราฟคาดการณ์นี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคม สำนักงานข้อมูลพลังงานสหรัฐได้คาดการณ์ความต้องการน้ำมันที่ได้รับผลกระทบจากจากโอมิครอนว่า

“ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการแพร่กระจายของโอมิครอนมีความไม่แน่นอน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเชิงลบต่อการคาดการณ์ปริมาณการใช้น้ำมันทั่วโลก”

ด้วยข้อมูลใหม่ที่ได้รับมาในช่วง 1 เดือนก่อนหน้านี้ทำให้เราทราบแล้วว่าโอมิครอนไม่ได้ทำให้ความต้องการน้ำมันทั่วโลกลดลงมาก แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะมียอดผู้ติดเชื้อไวรัสโอมิครอนเพิ่มขึ้นได้

โอมิครอนอาจเป็นจุดเริ่มต้นของจุดสิ้นสุดของการใช้มาตรการคุมเข้มทางเศรษฐกิจที่มีในช่วง COVID-19

จากประวัติศาสตร์ของการระบาดที่เคยเกิดขึ้นมาบนโลก ไม่ใช่เรื่องแปลกที่การระบาดของไวรัสจะสิ้นสุดลงจากไวรัสที่มีความรุนแรงน้อยกว่า สมมุติฐานทางการแพทย์หลายแห่งบอกตรงกันว่าโลกเราต้องมีไวรัสที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อได้เร็ว แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ซึ่งหลักฐานเบื้องต้นบ่งชี้ว่าโอมิครอนเป็นแบบนั้น

ประการแรก เราทราบดีว่าโอมิครอนสามารถแพร่เชื้อได้เร็ว และกลายเป็นสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลในหลายพื้นที่ทั่วโลก เช่นตอนนี้ที่มี 95% ของผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด ข้อมูลทางการแพทย์เริ่มปรากฏให้เห็นว่าโอมิครอนเป็นไวรัส COVID-19 ในรูปแบบที่มีความรุนแรงน้อยกว่า เราสามารถเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าจำนวนผู้ป่วยโควิดได้พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในสถานที่ต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา แต่อัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิตยังคงต่ำอยู่

ตอนนี้ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าประชากรโลกกำลังเรียนรู้ที่จะอยู่กับ COVID-19 มากขึ้น รูปแบบเศรษฐกิจและการเดินทางทั่วโลกค่อยๆ กลับสู่ภาวะปกติ รวมถึงการฟื้นตัวของการเดินทางด้วยเครื่องบิน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญตลอดช่วงการแพร่ระบาด นั่นเป็นเหตุผลที่การประมาณการในปัจจุบันจากหน่วยงานพยากรณ์รายใหญ่ ซึ่งรวมถึง EIA จึงคาดการณ์ให้อุปสงค์น้ำมันดิบโลกในปี 2022 จะสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

ภาพรวมซัพพลายน้ำมันทั่วโลกสูงที่สุดในรอบทศวรรษ

ความจริงที่ชัดเจนคือการผลิตน้ำมันต้องใช้เงินทุน และการลงทุนในด้านพัฒนาเชื้อเพลิงฟอสซิลก็ลดต่ำลงอย่างน่าใจหายเป็นเวลาสองปีติดต่อกันWorld Energy InvestmentWorld Energy Investment

หลังจากที่เคยมีเหตุการณ์น้ำมันล้นโลกในช่วงเริ่มการระบาด โลกได้เริ่มคุ้นเคยกับความเสี่ยงของอุปทานน้ำมันล้นตลาด แต่เพราะการระบาดที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ทำให้การลงทุนน้ำมันในรอบทศวรรษที่ผ่านมาตกลงสู่ระดับต่ำสุด การขาดแคลนเงินลงทุนกำลังจะเป็นจุดเริ่มต้นของอุปทานน้ำมันขาดแคลนฉับพลัน และกลายเป็นความเสี่ยงหลักในอนาคต

อิงจากแนวโน้มการนับแท่นขุดเจาะในปัจจุบันและ แผนการลงทุนในส่วนของการผลิตและการสำรวจ (E&P) ของอเมริกา เราเห็นหลักฐานที่ชัดเจนของเงินลงทุนที่ลดลงทั่วโลก รวมถึงในสหรัฐฯ เองก็ตาม แม้ว่าในปี 2021 ราคาน้ำมันจะสูงถึง 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่การผลิตของสหรัฐฯ ก็ยังคงอยู่ที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าระดับสูงสุดก่อนเกิดวิกฤตโควิด นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากเมื่อก่อนที่สหรัฐฯ เคยผลิตน้ำมันมากกว่านี้ แต่ราคาน้ำมันก็ไม่เคยขยับขึ้นเกิน $60 ต่อบาร์เรลได้เลย สัญญาณทั้งหมดบ่งชี้ถึงการลงทุนในน้ำมันที่มีอยู่อย่างจำกัดในปี 2022

แน่นอนว่าเรื่องราวดีๆ แบบนี้รัฐบาลต้องปกปิดข้อมูลเอาไว้เป็นอย่างดี นี่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอเมริกาเท่านั้น แม้แต่กลุ่มประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันอย่าง OPEC+ ที่มีพี่ใหญ่อย่างซาอุดีอาระเบีย ก็มีหลักฐานแสดงจำนวนแท่นขุดเจาะซึ่งอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 13 ปี ในกราฟประกอบด้านล่างนี้Saudi Rig Count 2008-2021Saudi Rig Count 2008-2021

ในขณะเดียวกัน ก็มีการพูดคุยกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่ารัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสามของโลกก็อาจจะกำลังเจอกับขีดจำกัดการผลิตตามที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า:

“รัสเซียล้มเหลวในการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเมื่อเดือนที่แล้ว แม้จะมีโควตาเพิ่มขึ้นอย่างมากตามข้อตกลง OPEC+ นี่คือหลักฐานบ่งชี้ว่ารัสเซียได้ใช้น้ำมันที่มาจากภาคการผลิตทั้งหมดไปหมดแล้ว”

ดังนั้นแม้ว่ากลุ่ม OPEC+ จะยังมีความเป็นไปได้ในการเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น ซึ่งรวมถึงการประกาศเพิ่มกำลังการผลิต 400,000 บาร์เรล/วันเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ยังคงมีคำถามอยู่ว่า

“ต้องมีกำลังการผลิตสำรองทั่วโลกมากแค่ไหนถึงจะสามารถตอบสนองความต้องการที่มีระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างเช่นใน “ปีนี้” และ “หลังจากนี้” ได้?”

การเพิ่มความสามารถในการผลิตน้ำมันก่อให้เกิดความวุ่นวายทางภูมิศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น ความวุ่นวายในคาซัคสถานในปัจจุบัน และน้ำมัน 100 ดอลลาร์อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของราคาต้นทุนทุกอย่างที่จะสูงขึ้นอีกในอนาคต

การขยายตัวทางเศรษฐกิจยิ่งสนับสนุนให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น

ข้อมูลในอดีตเผยให้เห็นว่าสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงาน มักจะได้อานิสงส์เชิงบวกในช่วงเวลาที่โลกกำลังอยู่ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจตอนปลายของวัฐจักร

หลักฐานที่มาสนับสนุนแนวคิดนี้คือเส้นเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้นและยาว ระหว่างอายุ 2 ปีกับ 10 ปี ครั้งสุดท้ายที่เห็นเส้นระยะสั้นขึ้นนำเส้นระยะยาว (หรือกลายเป็นลบ) ได้ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจขึ้น เส้นอัตราผลตอบแทนฯ เริ่มส่งสัญญาณเตือนภัยมาตั้งแต่ปี 2021 ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีความชัดเจนมากนักTreasury Yield Curve Spread 1999-2022 (est)Treasury Yield Curve Spread 1999-2022 (est)

ที่มา: Ross Report, with data from the St Louis Fed

พิจารณากรณีศึกษาทางเศรษฐกิจล่าสุดสองกรณี...

ในช่วงที่เกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ราคาอสังหาฯ พุ่งขึ้นสูงสุดและเริ่มพลิกกลับในปี 2006 ในช่วงเวลานั้น ราคาน้ำมันดิบพึ่งเริ่มการปรับขึ้นแบบพาราโบลา (ขึ้นแบบคล้อยตามกัน) เริ่มต้นจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมายืนอยู่ที่ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนมกราคม 2007 ก่อนที่จะขยับตัวขึ้นอีก 18 เดือนหลังจากนั้น ขึ้นสร้างจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 147 ดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคม 2008

อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ในที่สุดก็ช่วยทำให้ฟองสบู่ที่อสังหาแตก การระบาดของอัตราเงินเฟ้อที่ช่วยทำให้เกิดฟองสบู่สินทรัพย์ในปี 2008 ซึ่งหากยึดเอาสิ่งที่เคยเกิดขึ้นนี้ มาพิจารณาเป็นภาพในปัจจุบัน ก็อาจจะเป็นประโยชน์ต่อโลกหลังจากปี 2022 และปีต่อๆ ไป (แต่ต้องมีชีวิตรอดให้พ้นยุคฟองสบู่แตกไปก่อน)

อีกหนึ่งตัวอย่างการเปรียบเทียบที่เกี่ยวข้องกับตลาดปัจจุบันคือช่วงฟองสบู่ดอทคอมระยะสุดท้าย ช่วงนั้นดัชนีแนสแด็กร่วงลงอย่างหนักในปี 1999 ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นจาก 12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนมกราคม 1999 ขึ้นไปสร้างสูงสุดที่ 37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนตุลาคม 2000

จุดที่น่าสังเกตก็คือน้ำมันดิบยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากตลาดหุ้นผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และแม้ในขณะที่ฟองสบู่ดอทคอมจะแตกไปแล้ว ราคาน้ำมันดิบก็ทำเปรียบย่อตัวลดลงมา ก่อนที่จะสร้างขาขึ้นใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในปีต่อๆ ไป

ทั้งสองเหตุการณ์ฟังดูคุ้นๆไหม?

สรุปก็คือการลงทุนในปี 2022 ให้เลือกไปที่หุ้นกลุ่มพลังงานจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะบริษัทเหล่านี้จะได้รับอานิสงส์ขาขึ้นจากราคาน้ำมัน ที่กำลังอยู่ในช่วงต้นวัฐจักรของการเกิดฟองสบู่ ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกับช่วงหลังสงครามโลก หรือยุคฟองสบู่ดอทคอม เราจะเห็นได้ว่านี่กำลังจะเป็นเพียงจุดเริ้่มต้นของขาขึ้นในตลาดน้ำมันดิบเท่านั้น

กองทุน ETF ที่เกี่ยวข้อง:

- United States Oil Fund, LP (NYSE:USO)

- Energy Select Sector SPDR® Fund (NYSE:XLE)

- SPDR® S&P Oil & Gas Exploration & Production ETF (NYSE:XOP)

Statement:
The content of this article does not represent the views of fxgecko website. The content is for reference only and does not constitute investment suggestions. Investment is risky, so you should be careful in your choice! If it involves content, copyright and other issues, please contact us and we will make adjustments at the first time!

Related News

您正在访问的是FxGecko网站。 FxGecko互联网及其移动端产品是中国香港特别行政区成立的Hitorank Co.,LIMITED旗下运营和管理的一款面向全球发行的企业资讯査询工具。

您的IP为 中国大陆地区,抱歉的通知您,不能为您提供查询服务,还请谅解。请遵守当地地法律。