ระวังเงินบาทผันผวนในสัปดาห์สุดท้ายของปี 2021
2021-12-27 10:15:51
more 
567
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หลังผู้เล่นในตลาดเริ่มคลายกังวลปัญหาการระบาดของโอมิครอน
  • ติดตามสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนทั่วโลก รวมถึงการระบาดในประเทศไทย ซึ่งการระบาดระลอกใหม่อาจเกิดขึ้น แต่ความรุนแรงอาจไม่ได้น่ากังวลมากนัก หากรัฐบาลสามารถเร่งแจกจ่ายวัคซีนเข็มกระตุ้นได้

  • เงินดอลลาร์มีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways ในช่วงปลายปี โดยอาจมีบางช่วงที่อ่อนค่าลงตามภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด ทว่า เงินดอลลาร์ยังพอมีแรงหนุนอยู่จากปัญหาการระบาดของโอมิครอนทั่วโลกและแนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด ส่วนทิศทางเงินบาทต้องจับตาสถานการณ์การระบาดในประเทศ ซึ่งอาจทำให้เงินบาทแกว่งตัว sideways และไม่สามารถแข็งค่าได้เร็ว โดยแนวรับสำคัญของเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 33.30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นโซนที่ผู้นำเข้าต่างรอซื้อเงินดอลลาร์ อนึ่งตลาดการเงินอาจมีธุรกรรมที่เบาบางในช่วงปลายปี ทำให้ค่าเงินบาทอาจผันผวนในกรอบกว้างได้ หากมีธุรกรรมขนาดใหญ่เข้ามาในตลาด

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.20-33.60
    บาท/ดอลลาร์

  • กรอบเงินบาทกรอบเงินบาท

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – แม้ว่า ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์สุดท้ายของปีจะมีไม่มากนัก แต่ตลาดจะให้ความสนใจแนวโน้มการระบาดของโอมิครอนในสหรัฐฯ ว่าจะเริ่มมีความรุนแรงจนน่ากังวลหรือไม่ เพราะผู้เล่นในตลาดต่างประเมินว่าสถานการณ์การระบาดอาจไม่ได้รุนแรงจนน่ากังวล ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ต่างปรับตัวสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา อนึ่ง แม้ว่าตลาดจะกล้าเปิดรับความเสี่ยง ส่งผลให้ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) อย่างเงินดอลลาร์ลดลง แต่ปัญหาการระบาดของโอมิครอนทั่วโลก รวมถึงแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของเฟด จะยังพอช่วยหนุนไม่ให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าไปมากและมีแนวโน้มที่จะเห็นเงินดอลลาร์แกว่งตัว sideways จนกว่า ปัญหาการระบาดโอมิครอนจะไม่น่ากังวลอีกต่อไป ถึงจะสามารถเริ่มเห็นแนวโน้มการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ได้

  • ฝั่งยุโรป – ตลาดจะรอติดตามสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทั่วยุโรปอย่างใกล้ชิด เพราะหากการระบาดทวีความรุนแรงกว่าคาด ก็อาจกดดันให้รัฐบาลฝั่งยุโรปใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดมากขึ้น กดดันให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจของยูโรโซนชะลอลงได้ ทั้งนี้ เรามองว่า การระบาดในยุโรปอาจใกล้ถึงจุดพีคภายใน 1 เดือนข้างหน้า และมีโอกาสที่จะสงบลงได้ หลังรัฐบาลเร่งแจกจ่ายวัคซีนเข็มกระตุ้น

  • ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะส่งสัญญาณฟื้นตัวที่ดีขึ้น สะท้อนผ่าน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤศจิกายน ที่จะปรับตัวขึ้นราว +1.3% จากเดือนก่อนหน้า หนุนโดยความต้องการบริโภคที่เร่งตัวขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown (Pent-up demands) สอดคล้องกับภาพความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในภาคการผลิตก็มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี โดยยอดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือนพฤศจิกายน ก็จะโตขึ้นราว +4.8% จากเดือนก่อน สอดคล้องกับภาวะขยายตัวในอัตราเร่งของภาคการผลิต ดังจะเห็นได้จากการปรับตัวขึ้นของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) ส่วนในฝั่งจีน ภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังมีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ (Manufacturing & Non- Manufacturing PMIs) ในเดือนธันวาคมที่ยังทรงตัว ณ ระดับ 50.1 จุด และ 52 จุด ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เรามองว่า การใช้นโยบายทางการเงินที่มีความผ่อนคลายลงของธนาคารกลางจีน (PBOC) อาทิ การลด Reserve Requirement Ratio และ ล่าสุด การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี อาจช่วยหนุนให้เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ดีขึ้นในปีหน้า

  • ฝั่งไทย – สถานการณ์การระบาดของโอมิครอนในประเทศยังเป็นปัจจัยที่ต้องจับตา หลังเริ่มพบการระบาดในลักษณะคลัสเตอร์ อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า การระบาดระลอกใหม่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความรุนแรงและผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาจไม่มากนัก หากรัฐบาลสามารถเร่งแจกจ่ายวัคซีนกระตุ้น หรือ แจกจ่ายวัคซีนในกลุ่มเด็ก/เยาวชน ซึ่งข้อมูลล่าสุดในอังกฤษระบุว่า กลุ่มเด็ก/เยาวชน มีอัตราการนอนโรงพยาบาลที่สูงขึ้นเทียบกับการระบาดในระลอกก่อนหน้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรระมัดระวังความผันผวนในตลาดช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี หากมีธุรกรรมขนาดใหญ่เข้ามาในตลาด ในช่วงที่ธุรกรรมในตลาดโดยรวมเบาบางลงกว่าช่วงปกติ

Weekahead carlendarWeekahead carlendar

Statement:
The content of this article does not represent the views of fxgecko website. The content is for reference only and does not constitute investment suggestions. Investment is risky, so you should be careful in your choice! If it involves content, copyright and other issues, please contact us and we will make adjustments at the first time!

Related News

您正在访问的是FxGecko网站。 FxGecko互联网及其移动端产品是中国香港特别行政区成立的Hitorank Co.,LIMITED旗下运营和管理的一款面向全球发行的企业资讯査询工具。

您的IP为 中国大陆地区,抱歉的通知您,不能为您提供查询服务,还请谅解。请遵守当地地法律。