ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียงเปอร์เซ็นต์เดียว สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้กับตลาดหุ้นได้อีกมหาศาล
2022-06-22 16:10:15
more 
251

ปี 2022 ถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ หุ้นมีช่วงเวลาที่ยากลำบาก นับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2021 ดัชนีหลักของสหรัฐอเมริกาทั้งสามไม่ว่าจะเป็นดัชนีแนสแด็ก ดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500ล้วนแล้วแต่ปรับตัวลดลง เทียบกับปีที่ผ่านมาที่ผู้บริโภคและตลาดหุ้นต่างเฟื่องฟู เพราะการปล่อยอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับ และตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังไม่ได้เกินระดับราคาเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นมาเป็น 2% อย่างเช่นทุกวันนี้

แม้ว่าเงินเฟ้อจะเริ่มปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เฟดและกระทรวงการคลังสหรัฐเรียกอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นเหตุการณ์ "ชั่วคราว" มาตลอดทั้งปี 2021 ส่วนใหญ่แล้ว พวกเขาโทษว่าเป็นเพราะราคาที่สูงขึ้นจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานคอขวดที่เกิดจากการระบาดใหญ่ แม้ผู้กำหนดนโยบายเหล่านี้จะยอมรับผิดแบบอ้อมๆ ในปีนี้ว่าประเมินผิดไป แต่ธนาคารกลางและเจ้าหน้าที่ของรัฐกลับไม่ต้องรับผลของการกระทำและไม่ต้องรับผิดชอบต่อภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแต่อย่างใดด้วย

ในปี 2020 อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเกินจริงและการผ่อนปรนเชิงปริมาณ (QE) ทำให้สภาพคล่องทางการเงินในตลาดมีสูงมาก รัฐบาลได้ออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดในปริมาณที่อย่างไม่เคยมีมาก่อน ถึงแม้ว่ามีความจำเป็น แต่ก็กินเวลานานเกินไป และเริ่มหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งเงินเฟ้อที่งอกขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 ออกดอกในปี 2021 และเบ่งบานเหมือนวัชพืชที่โตเต็มที่แล้วในปี 2022

ข้อมูลตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่เพิ่มขึ้นและตลาดตราสารหนี้ที่ปรับตัวลดลงคือการส่งสัญญาณเตือนภัย ซึ่งความจริงอย่างหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือเฟดไม่ได้ประเมินว่าจะมีประเด็นอย่างสงครามใหญ่ครั้งแรกในยุโรป นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง และการแตกแยกระหว่างมหาอำนาจนิวเคลียร์จะเข้ามา และทำให้เกิดแรงผลักดันให้เงินเฟ้อแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

นั่นจึงทำให้ภาพรวมการลงทุนในปี 2022 จึงเปลี่ยนแปลงไป ตลาดหุ้นที่เคยปรับตัวขึ้นในขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำนั้นไม่มีอีกแล้ว มีแต่การเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะไล่เงินเฟ้อให้ทัน ซึ่งอาจจะต้องแลกมากับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างน้อยหนึ่งปี เงินทุนไหลจากหุ้นไปสู่การลงทุนแบบตราสารหนี้ และแนวโน้มตลาดหุ้นในเดือนมิถุนายน 2022 ก็สะท้อนความเป็นจริงออกมาตามนั้น

CPI เดือนพฤษภาคมเละเทะ PPI ไม่ได้เลวร้ายไปมากกว่ากันเท่าไหร่

ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ประจำเดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ธันวาคม 1981 ตัวเลข CPI ในเดือนที่แล้วเพิ่มขึ้น 8.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า ในขณะที่ตัวเลข CPI พื้นฐานปรับตัวพิ่มขึ้น 6% ตัวเลขทั้งสองสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ เมื่อไปดูที่รายงานตัวเลข PPI ก็พบว่าดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น 10.8% ต่อเนื่อง จนขึ้นมาอยู่ในตัวเลขสองหลัก

ราคาอาหาร ก๊าซ และพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นกลายเป็นปัจจัยสนับสนุนเงินเฟ้อ ส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการทั้งหมด อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นการเรียกร้องให้ธนาคารกลางของโลกต้องจำใจดำเนินนโยบายทางการเงินทั้งๆ ที่ตัวเองยังไม่พร้อมมากเท่าที่ควร เมื่อเร็ว ๆ นี้ธนาคารกลางยุโรปกล่าวว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกจากแดนลบ แต่อัตราเงินเฟ้อจะยังคงทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ต่ำกว่าศูนย์เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อกำลังกัดเซาะมูลค่าของเงินยูโร เช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยและทำนโยบายการเงินแบบตึงตัวก่อน ECB แล้ว

แม้เฟดจะเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ยังตามหลังเงินเฟ้ออยู่อีกไกล

ในวันพุธที่ 15 มิถุนายน ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ทำให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นมาอยู่ีในกรอบ 1.50% ถึง 1.75% เฟดไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นมามากขนาดนี้มาตั้งแต่ปี 1994 พวกเขาพิจารณา CPI พื้นฐานเป็นข้อมูลอ้างอิงเงินเฟ้อที่น่าเชื่อถือที่สุด เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวรวมราคาอาหารและพลังงาน ที่มีความผันผวนสูงเข้ามาร่วมคำนวณด้วย

มาตรการที่เฟดกำลังทำอยู่อาจเป็นภาพลวงตา เพราะสภาพแวดล้อมปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องมาจากสงครามในยูเครนที่เปลี่ยนธรรมชาติของตลาดเหล่านี้ สงครามทำให้เกิดปัญหาด้านอุปทานด้านเศรษฐกิจ ในขณะที่เครื่องมือของธนาคารกลางมี มักจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเด้านอุปสงค์มากกว่า ดังนั้น แม้กรอบอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นจะขึ้นมาเป็น 1.50% -1.75% แล้ว แต่บรรดาธนาคารกลางทั้งหลาย ก็ยังอยู่ห่างไกลกับคำว่าการควบคุมเงินเฟ้อ และถ้าเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากเกินไป ก็อาจทำให้สภาพเศรษฐกิจแย่ลงมากกว่าเดิม

ตลาดหุ้นไม่ได้ลง แต่ร่วง

ดัชนีตลาดหุ้นหลักของสหรัฐอเมริกาในปี 2022 ได้ปรับตัวลดลงมาตลอด แต่แรงกดดันด้านลบเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงกลางเดือนมิถุนายน S&P 500 Daily ChartS&P 500 Daily Chart

Source: Barchart

ภาพนี้แสดงกราฟของดัชนี S&P 500 ที่สามารถขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 4,818.62 เมื่อวันที่ 4 มกราคม แต่เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน หลังจากตลาดได้ทราบข้อมูลตัวเลข CPI ครั้งล่าสุดแล้ว เอสแอนด์พี 500 ได้ปรับตัวลดลงมา 24% มีราคาซื้อขายอยู่ที่ 3,675 NASDAQ Composite Daily ChartNASDAQ Composite Daily Chart

Source: Barchart

ในขณะเดียวกัน ดัชนีศูนย์กลางของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่าง NASDAQ Composite ได้ขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 16,212.23 เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2021 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมา 33.3% มีราคาซื้อขายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนอยู่ที่ 10,798 คิดเป็นการปรับตัวลดลงหนึ่งในสามของมูลค่าทั้งหมดของดัชนี

Dow Jones Daily ChartDow Jones Daily Chart

Source: Barchart

ดัชนีดาวโจนส์ (DJIA) อาจเป็นดัชนีที่ปรับตัวลดลงได้น้อยที่สุดจาก 36,952.65 เมื่อวันที่ 5 มกราคม เป็น 29,889 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน คิดเป็นการปรับตัวลดลง 19.1% 

ในขณะเดียวกัน ตลาดฟิวเจอร์สของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 30 ปี ที่จะส่งมอบในเดือนกันยายนได้ปรับตัวลดลงสู่จุดต่ำสุดที่ 131-01 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มกราคม 2014 อัตราการจำนองแบบปกติรุ่นอายุ 30 ปี ณ ช่วงสิ้นปี 2021 มีตัวเลขต่ำกว่า 3% และสูงกว่า 6% ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2020 การจำนอง 300,000 ดอลลาร์มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 750 ดอลลาร์ มากกว่าค่าใช้จ่ายเมื่อหกเดือนก่อน

VIX ปรับตัวขึ้นแต่ยังไม่ถึงกับพุ่งปรี๊ด

ในอดีต แนวโน้มตลาดหุ้นขาลงมักจะสิ้นสุดลงหลังจากที่นักลงทุนผู้ซึ่งหมดหวังออกจากตลาดไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว อันที่จริงก่อนที่ตัวเลข CPI จะออกมา ตลาดหุ้นก็ได้ปรับตัวลดลงอยู่ก่อนแล้ว 

เมื่อพูดถึงความวิตกกังวลของนักลงทุน ในตลาดจะมีดัชนีวัดความกลัวของนักลงทุนอยู่ ซึ่งมีชื่อว่า VIX index ดัชนีตัวนี้จะสะท้อนถึงความผันผวนอย่างมีนัยสำคัญของตลาดหุ้น ความผันผวนของ S&P 500 เป็นตัวกำหนดหลักของการ put หรือ call ในออปชั่น VIX จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อหุ้นลดลงเนื่องจากผู้เข้าร่วมตลาดต่างพากันปกป้องพอร์ตลงทุนของตัวเองด้วยการประกันราคา

แม้ว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา พฤติกรรมการวิ่งของ VIX จะปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้ขึ้นมากนัก มีความหมายว่าว่าตลาดหุ้นยังไม่เจอกับการเทขายจากภาคการค้าส่งVIX Weekly ChartVIX Weekly Chart

Source: Barchart

กราฟรูปนี้แสดงให้เห็นพฤติกรรมของตลาดหุ้นในเดือนมีนาคม 2020 ที่การกลัวโควิดนำไปสู่การพุ่งขึ้นของ VIX สู่ระดับ 85.47 ดังนั้น เมื่อเทียบกับ VIX ที่ 30.36 ในวันที่ 20 มิถุนายน แสดงให้เห็นว่าดัชนีได้ปรับตัวขึ้นจริง แต่ยังไม่ถึงจุดที่บ่งชี้ว่าตลาดหุ้นอยู่ใกล้จุดต่ำสุด

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นแค่ส่วนหนึ่งของแนวโน้มขาลงในตลาดหุ้น

เฟดและธนาคารกลางอื่นๆ กำลังอยู่ในช้วงเวลาที่ท้าทาย เนื่องจากต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อด้านซัพพลายแต่กลับมีเครื่องมือที่สามารถช่วยแก้ปัญหาฝั่งอุปสงค์ได้เท่านั้น นอกจากนี้ ตลาดหุ้นที่ร่วงลงและตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 1 ที่หดตัวไปแล้ว ยิ่งเพิ่มโอกาสของภาวะถดถอย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงผลักดันราคาราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น Stagflation อาจเป็นสิ่งที่สหรัฐอเมริกาไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น สงครามในยุโรป ความตึงเครียดระหว่างพลังงานนิวเคลียร์ของโลก การเลือกตั้งมิดเทอมของสหรัฐฯ และเศรษฐกิจหลักของโลก ที่กำลังแบ่งแยกตามแนวทางการเมือง ทำให้เกิดความไม่แน่นอนอย่างมากในตลาดในสินทรัพย์ทุกประเภท การลดลงของตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้อาจเป็นปัจจัยขาลง ที่รุ่นแรงที่สุดที่ตลาดต้องเผชิญ การที่ VIX วิ่งอยู่ในช่วง 30+ ไม่ได้บ่งชี้ว่านักลงทุนไม่มีความตื่นตระหนก

อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงปัญหาเดียวที่ตลาดหุ้นสหรัฐเผชิญในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2022 ตลาดหมีมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นเทรนด์หลักของตลาดไปจนกว่านักลงทุนจะกลับมาร่วมใจกันสร้างจุดต่ำสุดได้ มิเช่นนั้น ราคาก็มีแต่จะปรับตัวลดลงต่อไปเรื่อยๆ การลงทุนในตลาดหุ้นตอนนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในปัญหามากมายที่เรายังมองไม่เห็น และจะส่งผลต่อตลาดลงทุนอย่างมีนัยสำคัญไปตลอดทั้งปี 2022

Statement:
The content of this article does not represent the views of fxgecko website. The content is for reference only and does not constitute investment suggestions. Investment is risky, so you should be careful in your choice! If it involves content, copyright and other issues, please contact us and we will make adjustments at the first time!

Related News

您正在访问的是FxGecko网站。 FxGecko互联网及其移动端产品是中国香港特别行政区成立的Hitorank Co.,LIMITED旗下运营和管理的一款面向全球发行的企业资讯査询工具。

您的IP为 中国大陆地区,抱歉的通知您,不能为您提供查询服务,还请谅解。请遵守当地地法律。