ธีมลงทุนเดือนพฤศจิกายน 2021 หุ้นยังไปต่อ หลัง Q3 Earnings ดีเกินคาด
2021-11-11 15:16:20
more 
578

Economic & Markets Review

ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตลาดการเงินโดยรวมเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่องจากแรงหนุนของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ต่างออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ ดัชนีตลาดหุ้นโลก MSCI ACWI ปรับตัวขึ้นกว่า 4.7% นำโดยการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นในฝั่งตลาดพัฒนาแล้ว (DM) โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯและยุโรปที่ปรับตัวขึ้นไม่น้อยกว่า 5% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นในโซนอาเซียนก็เป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่เห็นการฟื้นตัวของตลาดหุ้นที่ดีขึ้น โดย ดัชนี MSCI ASEAN ปรับตัวขึ้นราว 5% หนุนโดยแนวโน้มสถานการณ์ COVID ในอาเซียนที่ดีขึ้น ตามการเร่งแจกจ่ายวัคซีน ซึ่งทำให้หลายประเทศสามารถทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ได้ตามลำดับ

นอกเหนือจากสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรับตัวขึ้นได้ดีนั้น สินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าพลังงานก็ปรับตัวขึ้นได้ดีเช่นกันในเดือนตุลาคมที่ผ่าน จากปัญหาภาวะขาดแคลนพลังงานทั่วโลก เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่กำลังการผลิตนั้นมีการฟื้นตัวที่ช้า รวมถึงปัญหาด้าน Supply Chain ที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าพลังงานก็ยิ่งทำให้ราคาสินค้าพลังงานปรับตัวสูงขึ้นและเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลอดเดือนตุลาคม ผู้เล่นในตลาดต่างกังวลแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับที่สูงนานกว่าคาด จนทำให้ตลาดต่างประเมินว่า ธนาคารกลางหลักอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดหรือขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วและมากกว่าที่ตลาดประเมินไว้

จากความกังวลปัญหาเงินเฟ้อ รวมถึงมุมมองของตลาดที่เชื่อว่าธนาคารกลางหลักอาจขึ้นดอกเบี้ยได้เร็ว ส่งผลให้ตราสารหนี้โดยรวมปรับตัวลดลง โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากการที่บอนด์ยีลด์ 10ปี ทั่วโลกต่างปรับตัวขึ้น นอกจากนี้ ในฝั่งหุ้นกู้เอกชน ก็ยังเผชิญแรงกดดันจากความกังวลปัญหาหนี้ภาคอสังหาฯในจีน ที่ส่งผลให้ ตราสารหนี้เอกชน ทั้ง IG และ HY ต่างปรับตัวลดลง


Figure1: ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลก Figure1: ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลก

Figure1: ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลก ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2564


Figure2: ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมFigure2: ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม

Figure2: ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2564


Figure3: ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลกFigure3: ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลก

Figure3: ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลก และความเคลื่อนไหวของบอนด์ยีลด์ 10ปี ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2564


ผลตอบแทนของสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงินหลัก ผลตอบแทนของสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงินหลัก

Figure4: ผลตอบแทนของสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงินหลัก ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2564

Investment Strategy

สำหรับในเดือนพฤศจิกายน แม้ว่าสินทรัพย์เสี่ยงจะปรับตัวขึ้นมาพอสมควรจากแรงหนุน Earnings Season แต่เราคงเชื่อว่า “หุ้น” ยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ให้ Risk/Reward น่าสนใจอยู่ อย่างไรก็ดี เราแนะนำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในตลาดหุ้นที่ระดับราคายังไม่แพงเกินไปและเศรษฐกิจก็มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี ขณะเดียวกัน กระแสการลงทุนในธีม Renewable Energy และ EV ก็เป็นสิ่งที่ควรมีติดพอร์ตไว้เช่นกัน

แนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องและผลประกอบการที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี ทำให้เราคงเน้นน้ำหนักการลงทุนในหุ้น ซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ที่มี Risk/Reward น่าสนใจ โดยเฉพาะ หุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่ม Financial ที่จะสามารถปรับตัวขึ้นได้ดีตามเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี แม้ว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะมีความน่าสนใจในแง่การเติบโตของผลประกอบการ แต่เรามองว่า ราคาหุ้นสหรัฐฯ ได้ปรับตัวขึ้นมามากพอสมควร ซึ่งนักลงทุนควรกระจายความเสี่ยงการลงทุนไปยังตลาดอื่นๆ ที่น่าสนใจบ้าง อาทิ ตลาดหุ้นยุโรปและญี่ปุ่น เนื่องจากทั้งผลประกอบการของบริษัทในฝั่งยุโรปและญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากรัฐบาล ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ยังคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อ นอกจากนี้ ระดับราคาของตลาดหุ้นยุโรปและญี่ปุ่น ณ ปัจจุบัน ถือว่ายังไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต

นอกจากนี้ ในด้านธีมการลงทุนที่น่าสนใจ เราคงชอบ ธีม EV และ พลังงานทางเลือก (Renewable) เป็นตัวเลือกการลงทุนระยะยาว (มากกว่า 5ปี) หนุนแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ EV & Renewable ที่จะได้รับแรงหนุนจากนโยบายพลังงานสะอาดและรักษ์โลกของรัฐบาลทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากท่าทีของบรรดาประเทศต่างๆ ในงานประชุม COP26 ที่หันมาใส่ใจกับนโยบายลดการปล่อยมลภาวะและใส่ใจกับปัญหาด้าน Climate Change มากขึ้น

อนึ่ง สินทรัพย์ที่เรามองว่า นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงก็คือ พันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว เนื่องจาก แนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ การทยอยลดมาตรการคิวอีของเฟด รวมถึงความกังวลว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาดของผู้เล่นในตลาด จะส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ระยะยาวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้ นักลงทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเผชิญการขาดทุน (Mark to Market loss) ได้

ดังนั้นพอร์ตโฟลิโอสำหรับความเสี่ยงระดับกลาง เราจึงแนะนำแบ่งสัดส่วนการลงทุนดังนี้ 1.)กองทุนหุ้นทั่วโลก 44% เน้นหุ้น High Quality Growth ในสหรัฐอเมริกา, หุ้น Large cap. Growth ในยุโรปและญี่ปุ่น รวมถึงหุ้นกลุ่ม Global Financial 2.) กองทุนตราสารหนี้เอกชนทั่วโลก 33% 3.) กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น 18% ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน Investment grade ขึ้นไป รวมถึงเงินฝากต่างประเทศ และ 4.) กองทุนรวม REITs 5% ที่เน้นลงทุนในกลุ่ม Reopening play เช่น Retail REITs ในไทย

Risk Factors to keep eyes on

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรติดตามในเดือนนี้ ได้แก่ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ รวมถึง ทิศทางการปรับดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลัก ขณะเดียวกัน สิ่งที่อาจมองข้ามไม่ได้ คือ ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอาจกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และสุดท้ายในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ตลาดอาจกลับมาติดตามความเสี่ยงการเมืองสหรัฐฯ อีกครั้ง

โดยในประเด็นแรกนั้น เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มที่อยู่ในระดับสูงจากความต้องการที่ฟื้นตัวหลังการทยอยเปิดประเทศ ขณะที่ปัญหาด้าน Supply Chain ก็ยังมีอยู่และอาจยืดเยื้อยาวนานได้ ทำให้ราคาสินค้ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ดี ประเด็นเงินเฟ้ออาจยังไม่ได้กดดันให้บรรดาธนาคารกลางให้ต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยได้เร็ว แต่ควรจับตาท่าทีของบรรดาธนาคารกลางหลักว่าจะมีการปรับเปลี่ยนมุมมองแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการปรับนโยบายการเงินอย่างไรบ้าง ซึ่งเราคาดว่าธนาคารกลางหลัก ทั้ง เฟด BOE และ ECB จะมีการสื่อสารถึงแนวโน้มนโยบายการเงินที่ชัดเจนมาขึ้นในการประชุมเดือนธันวาคม และแม้ว่า อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอาจไม่ได้ส่งผลต่อการตัดสินใจนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักมากนัก แต่มีโอกาสที่เงินเฟ้อสูงจะส่งผลกระทบต่อการบริโภค รวมถึง profit margin ของภาคธุรกิจที่อาจได้รับแรงกดดันจากต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น

ประเด็นความเสี่ยงถัดมา คือ Winter COVID-19 outbreak โดยล่าสุด เราเริ่มเห็นการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในฝั่งซีกโลกเหนือทั้งในโซนยุโรปและจีน โดยสถานการณ์ในยุโรปอาจไม่ได้น่ากังวลมากนัก เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้าไปมาก โดยมีผู้ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วราว 60% ดังนั้น หากมีการระบาดใหม่ เราเชื่อว่าสถานการณ์การระบาดจะไม่ได้น่ากังวลมากนัก เนื่องจากยอดผู้ป่วยหนักหรือเสียชีวิตจะไม่ได้เร่งตัวขึ้นไปมากแบบการระบาดในช่วงกลางปี ดังนั้น รัฐบาลในฝั่งยุโรปอาจไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการ Lockdown เพื่อควบคุมสถานการณ์ แต่การฟื้นตัวเศรษฐกิจก็อาจได้รับผลกระทบบ้างจากยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การระบาดในฝั่งจีนอาจเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากการระบาดรอบล่าสุดได้แพร่กระจายไปยัง 19 มณฑล จาก 31 มณฑล ภายในระยะเวลาไม่นานซึ่งเร็วกว่าอัตราการแพร่ระบาดของการระบาดระลอกแรกที่เมือง Wuhan นอกจากนี้ ทางการจีนยังคงมาตรการ Zero COVID ทำให้มีโอกาสที่รัฐบาลจีนจะใช้มาตรการ lockdown ที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาด ทำให้เศรษฐกิจจีนอาจชะลอตัวลงได้ ซึ่งหากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจในโซนเอเชียที่พึ่งพาการค้าจากฝั่งจีน

และประเด็นสุดท้ายที่ต้องระมัดระวังในช่วงปลายเดือน คือ ปัญหาการเมืองสหรัฐฯ ซึ่งจะมีการพิจารณาขยายเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ของสหรัฐฯ อีกครั้งในช่วงต้นเดือนธันวาคม พร้อมกับการพิจารณาร่างงบประมาณ Social Infrastructure มูลค่าราว 1.75 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้นมีโอกาสที่จะเห็นการกลับมาเล่นเกมส์การเมืองระหว่างพรรครีพลับริกันและเดโมแครตอีกครั้งในช่วงการพิจารณาทั้งเพดานหนี้ และงบประมาณ Social Infrastructure เนื่องจากในปีหน้าจะมีการเลือกตั้งกลางเทอม ทำให้ทั้งสองพรรคอาจต้องเริ่มเรียกหาคะแนนเสียง โดยเฉพาะฝั่งพรรคเดโมแครตที่คะแนนความนิยมของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เริ่มลดลง


Figure 5: จำนวนประเทศที่มีการประกาศเป้าหมายลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง Figure 5: จำนวนประเทศที่มีการประกาศเป้าหมายลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Figure 5: จำนวนประเทศที่มีการประกาศเป้าหมายลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง


itle width=

(ที่มา Bloomberg )

Figure 6: รายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนบน S&P500 ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งประกาศงบไปแล้วกว่า 81%
(ที่มา JP Morgan )


Figure 7: สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในฝั่งยุโรปและจีนFigure 7: สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในฝั่งยุโรปและจีน


Figure 7: สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในฝั่งยุโรปและจีน (ที่มา OurWorldinData )


Figure 8: อัตราการแจกจ่ายวัคซีนล่าสุดFigure 8: อัตราการแจกจ่ายวัคซีนล่าสุด

Figure 8: อัตราการแจกจ่ายวัคซีนล่าสุด (ที่มา OurWorldinData )


Figure 9: คะแนนความนิยมของประธานาธิบดี Joe Biden นับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งFigure 9: คะแนนความนิยมของประธานาธิบดี Joe Biden นับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่ง

Figure 9: คะแนนความนิยมของประธานาธิบดี Joe Biden นับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่ง (ที่มา FiveThirtyEight )



Kenyataan:
Kandungan artikel ini tidak mewakili pandangan laman web FxGecko. Kandungan adalah untuk rujukan sahaja dan bukan merupakan nasihat pelaburan. Pelaburan adalah berisiko, pilih dengan teliti! Jika terdapat sebarang isu berkaitan kandungan, hak cipta, dsb., sila hubungi kami dan kami akan membuat pelarasan secepat mungkin!

Artikel Berkaitan

您正在访问的是FxGecko网站。 FxGecko互联网及其移动端产品是中国香港特别行政区成立的Hitorank Co.,LIMITED旗下运营和管理的一款面向全球发行的企业资讯査询工具。

您的IP为 中国大陆地区,抱歉的通知您,不能为您提供查询服务,还请谅解。请遵守当地地法律。