หน้าแรก > ข้อมูล > รายละเอียดข่าว
กนง. “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% หลังเศรษฐกิจพ้นจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาสที่ 3
2021-11-10 17:15:30
more 
1650

Bank of Thailand Benchmark Interest Rate

Actual: 0.50% Previous: 0.50%

KTBGM: 0.50% Consensus: 0.50%

  • กนง. มีมติเอกฉันท์ ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ตามคาด หลังเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากแรงหนุนการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ส่วนอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นชั่วคราวจากราคาพลังงาน กนง. จึงมองว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังมีความจำเป็นเพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง

  • มุมมองของ กนง. ที่เป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้ เรามั่นใจว่า กนง. จะไม่ลดดอกเบี้ยต่ำกว่า 0.50% และจากแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้เรามองว่า กนง. อาจคงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.50% ได้จนถึงช่วงปลายปี 2023 ซึ่งมีโอกาสเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ หากเศรษฐกิจ รวมถึงการจ้างงานฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนวิกฤติ COVID-19

  • ทั้งนี้ เรามองว่า กนง. อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าคาด หากเผชิญแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยเร็วของบรรดาธนาคารกลางหลัก อาทิ หากเฟดสามารถขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง ในปี 2022 และ 4 ครั้ง ในปี 2023

  • การประชุมครั้งถัดไป: 22 ธันวาคม 2564

กนง. มีมติเอกฉันท์ ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% หลังเศรษฐกิจผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้วและเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และการเปิดประเทศ

  • กนง. มองว่า เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาสที่ 3 จากอานิสงส์จากการเร่งแจกจ่ายวัคซีน การผ่อนคลายมาตรการ Lockdownและการเปิดประเทศ ทำให้ ประมาณการเศรษฐกิจของ กนง. ในปีนี้และปีหน้าใกล้เคียงกับประมาณการในการประชุมครั้งก่อน อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นชั่วคราว จากปัจจัยด้านอุปทาน โดยเฉพาะปัจจัยด้านราคาพลังงาน ซึ่ง กนง. มองว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลังจะช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ กนง. จึงยังคงเห็นควรให้คงดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้

  • พร้อมกันนี้ กนง. ยังมองว่า มาตรการทางการคลังควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้ตรงจุดมากขึ้นหลังการเปิดประเทศ โดยเฉพาะการเน้นสร้างรายได้และยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจ อนึ่ง กนง. มองว่าสภาพคล่องในระดับการเงินอยู่ในระดับสูง แต่ความเสี่ยงด้านเครดิตยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ทำให้มาตรการทางการเงินและสินเชื่อต้องเร่งกระจายสภาพคล่องที่มีอยู่สูงในระบบให้เข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและรวดเร็ว เพื่อลดภาระหนี้และช่วยให้ทุกภาคส่วนทยอยฟื้นตัวได้

  • อย่างไรก็ดี กนง. มองว่า เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง โดยต้องติดตาม 1. สถานการณ์การระบาดหลังการเปิดประเทศ 2. ความต่อเนื่องของแรงสนับสนุนจากมาตรการของภาครัฐ และ 3. ผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจจากราคาต้นทุนที่สูงขึ้นหลังราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น

กนง. เริ่มมั่นใจแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้เรามองว่า ดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 0.50% ไปจนถึงช่วงปลายปี 2023 ที่อาจจะเริ่มเห็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกได้

  • กนง. มีความมั่นใจการฟื้นตัวเศรษฐกิจมากขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน ทำให้เรามองว่า กนง. จะไม่ลดดอกเบี้ยต่ำกว่า 0.50% และ ดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับ 0.50% จนกว่าเศรษฐกิจพ้นหลุม COVID-19 โดยถ้าหากพิจารณาแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป (GDP โต +0.5% ในปีนี้ และ +3.9% ในปีหน้า) จะเห็นได้ว่า กว่าที่เศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ระดับก่อนวิกฤติ COVID-19 อาจเป็นช่วงครึ่งหลังของปี 2023 ซึ่งจะเริ่มเป็นจังหวะที่การท่องเที่ยวจากต่างชาติกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้นมาก ซึ่งเรามองว่า บนสมมติฐานที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของ กนง. และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ดีในช่วงปลายปี 2023 กนง. อาจตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ 1 ครั้ง สู่ระดับ 0.75% ปลายปี

  • อนึ่ง ในส่วนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายนั้น กนง. อาจถูกดดันให้ต้องขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าคาด หากทั่วโลกเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้เร็ว โดย เรามองว่า หากธนาคารกลางหลัก อย่าง เฟดสามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยได้เร็ว เช่น ขึ้น 2 ครั้งในปี 2022 และขึ้นดอกเบี้ยได้ถึง 4 ครั้งในปี 2023 มีโอกาสที่จังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของไทยอาจขยับขึ้นมาเร็วกว่าที่ประเมินไว้ ซึ่งอาจจะคล้ายกับการขึ้นดอกเบี้ยครั้งหลังสุด ที่ กนง. ไม่สามารถคงดอกเบี้ยได้ตลอด หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง

  • อย่างไรก็ดี เราเห็นด้วยกับ กนง. ว่าเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง โดยปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม นอกเหนือจากที่ กนง. ระบุไว้ คือ ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เนื่องจาก ทางการจีนยังคงใช้นโยบาย Zero COVID ทำให้ เมื่อเกิดการระบาด ทางการจีนจะกลับมาใช้มาตรการ Lockdown กดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ซึ่งเราคาดว่า กว่าที่ประเทศจีนจะยกเลิกนโยบายดังกล่าวได้ ก็อาจเป็นช่วงครึ่งหลังปี 2024 ที่จะมีการใช้วัคซีน mRNA หรือ ยารักษา PAXLOVID ของ Pfizer อย่างแพร่หลายในจีน

MPC policy decision MPC policy decision

demand side indicatorsdemand side indicators

คำสั่ง:
เนื้อหาของบทความนี้ไม่ได้แสดงถึงมุมมองของเว็บไซต์ FxGecko เนื้อหามีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง เลือกอย่างระมัดระวัง! หากมีปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ลิขสิทธิ์ ฯลฯ โปรดติดต่อเราและเราจะทำการปรับเปลี่ยนโดยเร็วที่สุด!

บทความที่เกี่ยวข้อง

您正在访问的是FxGecko网站。 FxGecko互联网及其移动端产品是中国香港特别行政区成立的Hitorank Co.,LIMITED旗下运营和管理的一款面向全球发行的企业资讯査询工具。

您的IP为 中国大陆地区,抱歉的通知您,不能为您提供查询服务,还请谅解。请遵守当地地法律。