หน้าแรก > ข้อมูล > รายละเอียดข่าว
ยังเชื่อว่า FED ขึ้นดอกเบี้ยไม่เกิน 0.75% รอบนี้ 
2022-09-19 13:45:05
more 
363

เข้าใกล้วันประชุม Fed ความกังวลว่าดอกเบี้ยจะปรับขึ้แรงเพื่อก็เพิ่มขึ้น แต่ อย่างไรก็ตามเรายังเชื่อว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบ ก.ย.65 ไม่น่าจะ เกิน 0.75% และน่าจะชะลอตัวลงเหลือ 0.5 – 0.25% ต่อรอบ สนับสนุนด้วยความ เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และหากการเพิ่มขึ้นของ CPI รายเดือน จากนี้ไปที่ 0.12% MoM (อ้างอิงตัวเลขเดือน ส.ค.65 ที่ผ่านมา) น่าจะทำให้เงิน เฟ้อลงไปอยู่ในกรอบเป้าหมายราวกลางปี 2566 ถัดมาเป็นเรื่องความกังวลเรื่อง Recession ของสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันพบว่า IndicatorจากInverted Yield Curve ที่ค่อนข้างลึกและยาวนาน ภาวะดังกล่าวทำให้ต้นทุนในการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed สูงขึ้น หากเป็นไปตามคาดประกอบกับการที่ กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยในการ ประชุมอีก 2 น่าจะทำให้เงินบาทไม่หลุด 37 บาทขึ้นไปได้ง่ายๆ

SET Index ผันผวนในกรอบ 1620 – 1640 จุด พอร์ตจำลองได้Stop Profit หุ้น CENTEL วันนี้Stop Profit หุ้น M และ BDMS ทำให้มีเงินสด 25% ให้เข้า AOT (BK:AOT) 10% เพิ่ม BLA 5% และถือเงินสด 10%Top Pick เลือก AOT, BBL และ BLA

คาด เงินบาท ชะลอการอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของปี

วันศุกร์ที่ผ่านมาเงินบาทไทยอ่อนค่าทะลุแนวต้านเดิมที่ราว 36.8 บาท/ดอลลาห์สหรัฐ และพุ่งขึ้นไปทะลุ37 บาท/ดอลลาห์สหรัฐ ก่อนที่จะย่อตัวลงมา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปีที่บาทอ่อนค่ามากขนาดนี้ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าค่าเงินบาทผันผวน ในช่วงที่ผ่านมา มีสาเหตุหลักมาจากการคาดการณ์ว่า Fed จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ มากกว่าเดิมในการประชุมสัปดาห์นี้ รวมถึงค่าเงินในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย (Emerging Asia) ปรับตัวอ่อนค่า อาทิ เงินหยวนขึ้นขึ้นไปแตะที่ 7 หยวน/ดอลลาร์ ทำให้ นักลงทุนมี Demand ในเงินดอลลาห์สูงขึ้น เนื่องจากเชื่อว่าเงินดอลลาห์เป็น Safe Haven อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยประเมินว่า ค่าเงินบาทจะเริ่มกลับมาแข็งค่าอีกครั้งจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

• อัตราเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยมีแนวโน้มว่าจะชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปี เมื่อ พิจารณาจาก FED Watch Tool นักลงทุนส่วนใหญ่ยังให้น้ำหนัก 82% ที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.25% และให้น้ำหนักเพียง 18% ที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% สำหรับการประชุมในสัปดาห์นี้ ส่วนการ ประชุมครั้งต่อๆ ไปน่าจะเห็น Fed ขึ้นดอกเบี้ยลดน้อยลงเหลือ 0.50% หรือ 0.25%

• นักลงทุนยังกังวลเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ Recession โดยเมื่อพิจารณาจาก Inverted Yield Curve พบว่า Bond Yield สหรัฐ 2 ปี – 10 ปี อยู่ที่ -0.41% ติดต่อกันนานต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ก.ค. ทำให้การเร่งขึ้นดอกเบี้ยในช่วงถัดไปมี โอกาสชะลอลงได้โดยมองว่าความเสียหายจาก Recession ถือเป็นต้นทุนสำหรับ การที่ Fed พิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยแรง

• เงินเฟ้อสหรัฐคาดว่าผ่านจุด Peak ไปแล้ว หลัง CPI เดือนล่าสุดออกมา 8.3% ลดลงจาก 8.5% จากเดือนก่อนหน้า โดยฝ่ายวิจัยฯนำการเติบโต CPI รายเดือน เดือนล่าสุดที่ระดับ 0.12%MoM มาคิดเป็นสมมุติฐาน CPI Index ในช่วงถัดไป จะ เห็นได้ว่า อัตรา CPI YoY เดือนถัดๆ ไปลดลงอย่างชัดเจน โดยลดลงจาก 8.5%YoY(เดือน ส.ค.65) เหลือ 1.3%YoY (เดือน มิ.ย.66) หรือกลับเข้าสู่ภาวะ ปกติที่ FED มองไว้ คือระดับเงินเฟ้อต่ำกว่า 2%YoY

สรุป ทั้ง 3 ปัจจัยช่วยหนุนให้ค่าเงินดอกลลาร์มีโอกาสชะลอการแข็งค่าในช่วงเวลา ถัดไป หนุนให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มจะชะลอการอ่อนค่าลงเช่นกัน พร้อมกับคาดหวัง การกลับมาแข็งค่าจากเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วง Recovery

ดอกเบี้ยไทยยังขึ้นได้ช้ากว่าสหรัฐ พร้อมกับอยู่ในช่วงเศรษฐกิจฟื้น

ในช่วงที่เหลือของปี ยังเหลือการประชุม กนง. อีก 2 ครั้ง ฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าจะมีการขึ้น ดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% หนุนปลายปีดอกเบี้ยไทยเท่ากับ 1.25% น้อยกว่าดอกเบี้ยสหรัฐที่ Fed Watch Tool คาดปลายปีอยู่ที่ 4%

การขึ้นดอกเบี้ยไทยที่ช้ากว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัวสะท้อนได้จาก มูลค่า GDP งวด 2Q65 ยังไม่กลับไปเท่ากันกลับก่อนเกิด Covid-19 เลย แตกต่างจาก สหรัฐที่เคยขึ้นไปเหนือกว่าเกือบ ๆ 13.2% แล้วเริ่มชะลอตัวลงมา 2 ไตรมาสติดต่อกัน

นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยเล็งเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนถัดๆ ไป มีโอกาสลดลงอย่าง ชัดเจน หากสมมุติให้ CPI ตั้งแต่เดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 0.05%MoM (เท่ากับการเพิ่มขึ้นของ เดือน ก.ค.) หนุนให้เงินเฟ้อเดือน ส.ค. จะค่อยๆลดลงจาก 7.9%YoY จนในเดือนเดือน พ.ค. 66 กลับสู่ภาวะปกติที่ 1.2%YoY

สรุป การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย การขึ้นดอกเบี้ยที่ช้ากว่าสหรัฐ เป็นตัวช่วยหนุนให้ Fund Flow ยังมีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปีอยู่ ช่วยพยุงให้ตลาด หุ้นไทยผันผวนน้อยกว่าตลาดหุ้นโลกได้ ดังนั้นหากตลาดหุ้นลงลึกถือเป็นโอกาสทยอย สะสม

คาดหวังFUND FLOW จากประเทศพัฒนา โยกมาตลาดหุ้นกำลังพัฒนา รวมถึงไทยต่อ

แม้วันศุกร์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าทะลุ 37 บาท/เหรียญ แต่ Fund Flow ไหลออก จากตลาดหุ้นไทยไม่มากเพียง -819 ล้านบาท และฝ่ายวิจัยคาดว่าเงินบาทมีโอกาสชะลอ การอ่อนค่าตามหัวข้อก่อนหน้าได้

พร้อมกับคาดหวัง Fund Flow จะไหลเข้าในช่วงที่เหลือของปีจาก 2 ส่วน

1. ความเสี่ยงจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยในตลาดหุ้นไทยน้อยกว่าสหรัฐ

2. ความคาดหวังการเติบโตกำไรบริษัทจดทะเบียนจะทยอยเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจ ขณะที่บริษัทจดทะเบียนสหรัฐเตรียมรับมือกับการชะลอตัวของ เศรษฐกิจ

หนุนให้ Fund Flow ยังมีโอกาสโยกย้ายจากตลาดหุ้นประเทศพัฒนา มาตลาดหุ้นกำลัง พัฒนา รวมถึงไทยเหมือนกับในช่วงที่ผ่านๆ มา สะท้อนได้จาก 7 เดือนแรกของในปีนี้ ต่างชาติขายสุทธิหุ้นสหรัฐมูลค่ารวม -3.89 หมื่นล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกเดือน ตรงข้ามกับตลาดหุ้นไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิสะสม 4.7 พันล้านเหรียญ (ytd) และเป็นการซื้อ สุทธิถึง 7 ใน 9 เดือน

สรุปทุกๆ ปัจจัยที่กล่าวมายังคาดหวัง Fund Flow ไหลเข้ามาพยุงดัชนีในช่วงที่เหลือ ของปี ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ ความกังวล Fed ขึ้นดอกเบี้ยในช่วงก่อนการ ประชุมในวันที่ 21 ก.ย. กดดันให้ตลาดหุ้นผันผวน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว 1620 - 1640 จุด แต่ก็ถือเป็นโอกาสในการสะสมเพื่อหวังผลในระยะกลางถึงยาว ส่วนหุ้นเด่น ในวันนี้ แนะนำหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น อย่าง BBL BLA และหุ้นคาดหวัง นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตามลำดับ อย่าง AOT เป็น Toppick

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

คำสั่ง:
เนื้อหาของบทความนี้ไม่ได้แสดงถึงมุมมองของเว็บไซต์ FxGecko เนื้อหามีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง เลือกอย่างระมัดระวัง! หากมีปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ลิขสิทธิ์ ฯลฯ โปรดติดต่อเราและเราจะทำการปรับเปลี่ยนโดยเร็วที่สุด!

บทความที่เกี่ยวข้อง

您正在访问的是FxGecko网站。 FxGecko互联网及其移动端产品是中国香港特别行政区成立的Hitorank Co.,LIMITED旗下运营和管理的一款面向全球发行的企业资讯査询工具。

您的IP为 中国大陆地区,抱歉的通知您,不能为您提供查询服务,还请谅解。请遵守当地地法律。